Manager – Adman Fear Factors

เผย 4 ปัจจัยหินทุบครีเอตโฆษณา เอเยนซีหลงทางกระแสเทคโนโลยี Published in Manager Newspaper 12 August 2014 โลกโฆษณาถึงยุคก้าวผ่านสู่พรมแดนใหม่ ในวันที่ผู้บริโภคมีลักษณะเฉพาะตัวมากขึ้น นักโฆษณาและการตลาดต้องก้าวนำ หลังหลงไปกับกระแสเทคโนโลยี ตอกย้ำการคืนสู่สามัญ ชิ้นงานโฆษณาต้องโดนใจ อิมเมจแบรนด์ดี ขายได้ และเติบโตอย่างยั่งยืน นายวีรชน วีรวรวิทย์ ประธานคณะกรรมการตัดสิน Adman Awards & Symposium 2014 เปิดเผยว่า ทิศทางวงการโฆษณาในประเทศไทย หลังจากนี้ควรจะต้องมีการปรับตัวอย่างมาก หลังจากที่พบว่ามี 4 ปัจจัยหลักที่เปลี่ยนแปลงไป คือ… 1. ตลาดใหม่ โดยเฉพาะการที่ไทยจะก้าวสู่เออีซีในปี 2558 นั้น หลังจากนี้ธุรกิจจะไม่ได้อยู่แค่ในประเทศไทยเท่านั้น ระบบและขนาดของเศรษฐกิจจะใหญ่ขึ้น คู่แข่งที่จะเข้ามาในไทยมีเพิ่มขึ้น นักการตลาดและนักโฆษณาจะต้องปรับตัวให้ทัน 2. ผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องทำความเข้าใจให้ทัน โดยเฉพาะกลุ่มเจน Z ที่เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับเทคโนโลยีมากที่สุด 3. สื่อใหม่ๆ จากเดิมที่จะเน้นโฆษณาในสื่อหลัก ปัจจุบันมีนิวมีเดียเข้ามาให้เลือกใช้มากขึ้น พฤติกรรมความนิยมใช้แอปพลิเคชันบนมือถือมีเพิ่มขึ้น ช่องทางการสื่อสารใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทีวีดิจิตอลมีการเปลี่ยนแปลง ล้วนแต่เป็นโจทย์ใหม่ของการใช้สื่อโฆษณาหลังจากนี้ และ 4. เทคโนโลยี หลังจากนี้จะเห็นการสื่อสารใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดวิธีการสื่อสารรูปแบบใหม่ ล้วนแต่เป็นพรมแดนใหม่ของการสื่อสารทั้งสิ้น ดังนั้นนักการตลาดและนักโฆษณาจะต้องปรับตัวให้ทันและเลือกใช้สื่อโฆษณาได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ด้าน นายศิวัตร เชาวริยวงษ์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิตอล (ประเทศไทย) กล่าวว่า นักโฆษณาและเอเยนซีต้องปรับตัวรับสิ่งใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นให้ทัน เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงเร็วมากและส่งผลต่อ การตัดสินใจซื้อให้เปลี่ยนแปลงไป เจ้าของสินค้าและเอเยนซีจะต้องทำงานหนักขึ้นและปรับวิธีการทำงานเพื่อรับการ เปลี่ยนแปลง โดย 1. จะต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน เปลี่ยนวิธีคิด มีการเปิดกว้างและแบ่งปันข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการคิดงานโฆษณาให้ตรงจุด 2. สื่อต่างๆ จะมีสเกลและบทบาทมากขึ้น มองให้เห็นถึงผลกระทบและประโยชน์ที่จะตามมา เช่น การแชร์บนโลกโซเชียลจะส่งผลให้ยอดขายสินค้าเติบโตได้รวดเร็วขึ้น... Read The Rest →

Prachachat – Adman Finds New Formula

“แก้โจทย์” สังคมก้มหน้า สมาคมโฆษณาฯเฟ้น “สูตร” สื่อสารใหม่ Published in Prachachat Turakij Newspaper 12 August 2014 ความรวดเร็วของเทคโนโลยีการสื่อสารกลายเป็นเส้นแบ่งพรมแดนใหม่ระหว่างผู้บริโภคกับนักการตลาดและนักโฆษณาอย่างชัดเจน เมื่อวันนี้ผู้บริโภคเทน้ำหนักความสนใจเกือบทั้งหมดให้แก่อุปรณ์การสื่อสารที่อยู่ตรงหน้า ทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเลต เพิ่มดีกรีความยากทางการสื่อสารในการเจาะตรงถึงใจผู้บริโภคอีกระดับหนึ่ง “อ่อนอุษา ลำเลียงพล” นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กล่าวในงานประกวด “Adman Awards & Symposium” หัวข้อ “The New Frontier”ว่า จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม พฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มใหม่ ๆ ที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น จนถึงเครื่องมือการสื่อสารและวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่สร้างช่องทางการ สื่อใหม่ ๆ ทำให้เกิดพื้นที และผู้บริโภคกลุ่มใหม่ วันนี้ผู้บริโภคจึงกลายเป็นผู้กำหนดความท้าทายใหม่ ในอุตสาหกรรมโฆษณา ซึ่งนักโฆษณาเองต้องมองโจทย์ให้ทะลุ เพื่อเข้าถึงใจผู้บริโภคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อความรวดเร็ว ของเทคโนโลยีทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยน ดังนั้นนักการตลาด นักโฆษณา ก็ต้องสร้างอาวุธทางการสื่อสาร เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงผ่านหลากหลายวิธีเพื่อดึงความสนใจของผู้บริโภคคืน มา “วันนี้เป้าหมายของนักโฆษณาบิดเบี้ยวไป บางครั้งโฆษณาไม่ใช่แค่มาเรียกยอดบนออนไลน์ แต่สินค้ากลับขายไม่ได้ และไม่ตอบโจทย์แบรนด์ แต่นักโฆษณาต้องตระหนักว่าไอเดียโฆษณาต้องสดใหม่ ต้องทำให้แบรนด์ดูดี สินค้าขายได้และเชื่อมโยงกลับมาหาแบรนด์” ฟาก มุมมอง “วรรณี รัตนพล” ในฐานะนายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) กล่าวว่า เดอะนิวฟรอนเทียร์ ของมีเดียเอเยนซี่ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.ทีวีดิจิทัล การเกิดขึ้นทีวี 24 ช่องไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ จากปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งการแจกคูปอง ผู้บริโภคสับสนจำเลขช่องไม่ได้ และการวัดเรตติ้งที่ยังไม่เรียบร้อย ขณะที่มีเดียเอเยนซี่ต้องปรับตัวด้วยการประเมินสถานการณ์ พิจารณาความพร้อมของแต่ละช่องเองก่อนวางแผนสื่อในช่วงที่เรตติ้งไม่พร้อม 2.การรับสื่อของผู้บริโภคและคอนเทนต์แบบ “มัลติสกรีน” ที่รับชมสื่อหลายช่องทางในเวลาเดียวกัน ทั้งเสพสื่อโซเชียลมีเดียและทีวีพร้อมกัน อีกทั้งผู้ชมก็ไม่ได้ยึดติดกับการรับชมฟรีทีวีอีกต่อไป แต่เลือกรับชมคอนเทนต์ย้อนหลังผ่านออนไลน์ มีเดียเอเยนซี่ต้องพัฒนาแพลตฟอร์มผ่านสื่อดิจิทัลที่ครอบคลุมถึงผู้บริโภค... Read The Rest →

« Older Entries Newer Entries »

Back to top