a day: number 178: Farewell Mad Men

Global Review: Advertising ตอน บทส่งท้ายตำนานโฆษณา Mad Men By Weerachon Weeraworawit, Published: 9 June 2015 ในที่สุด ซีรี่ส์สุดฮิต Mad Men ก็ออกอากาศตอนสุดท้ายไปที่อเมริกาเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยการที่ Mad Men เป็นซีรี่ส์ขวัญใจมหาชน ต้องยกความดีความชอบให้กับทีมค้นคว้าวิจัยที่ผูกเรื่องราวดราม่าของคนโฆษณาในยุค 60’s ให้เข้ากับเบื้องหลังผลงานโฆษณาระดับตำนานจำนวนมากได้อย่างลงตัว ยิ่งฉากจบของเรื่องที่ให้พระเอกคือ Don Draper ไปบำบัดสภาพจิตที่ศูนย์บำบัด แล้วตัดไปที่หนังโฆษณา Coca Cola สุดคลาสสิคเรื่อง Hilltop บอกเป็นนัยๆ ว่า ในที่สุด พระเอกหายดีแล้วได้กลับมาสร้างสรรค์ผลงานโฆษณาในดวงใจอเมริกันชนชิ้นนี้ ถือได้ว่าทีมค้นคว้าวิจัยในการเขียนบท Mad Men แม่นและมีความเข้าใจโลกโฆษณามากๆ เพราะหลังจากที่ออกอากาศครั้งแรกในปี 1971 หนังโฆษณาเรื่องนี้ก็ได้สร้างรากฐานที่สำคัญให้กับวงการโฆษณายุคใหม่ โดยนำพา Emotion เข้ามาแทนที่ Function ไม่เน้นขายคุณสมบัติของสินค้าโครมๆ เหมือนที่ผ่านมา แต่ครีเอทีฟตัวจริงที่เป็นผู้รังสรรค์ผลงานชิ้นนี้ แน่นอนครับว่าไม่ใช่ชายในจินตนาการอย่างนาย Don Draper หากแต่เป็น Bill Backer ซึ่งตำแหน่งในตอนนั้นคือ Creative Director ของ McCann Erickson (ซึ่งในเรื่อง Mad Men เอเจนซี่โฆษณาแห่งนี้เข้าควบรวมกิจการของ Don Draper ในช่วงเวลานั้นพอดี) และที่มาของหนังโฆษณาเรื่องนี้เกิดจากบรีฟให้ทำเพลงโฆษณาทางวิทยุ โดยนาย Bill Backer ได้บินจากอเมริกาไปทำเพลงที่อังกฤษร่วมกับทีมนักแต่งเพลงที่นั่น แต่เที่ยวบินไปลอนดอนของเขา เผชิญหมอกหนาทึบทำให้ต้องเปลี่ยนเส้นทางการบินไปแวะจอดที่ไอร์แลนด์ วันถัดมา เขาพบว่ากลุ่มผู้โดยสารที่โกรธเกรี้ยวสายการบินในวันแรก ต่างมานั่งร่วมตัวกันในร้านเครื่องดื่มที่สนามบิน หัวเราะให้กับประสบการณ์ที่ต้องพลาดจุดหมายปลายทางอย่างสนุกสนานไปพร้อมๆ กับขนมขบเคี้ยวและโค้ก ช่วงเวลานั้นเองที่ Bill Backer ปิ๊งไอเดียมองเห็นความยิ่งใหญ่ของขวดน้ำอัดลมเล็กๆ นี้ ว่าไม่เพียงมีคุณสมบัติสร้างความสดชื่นดับกระหาย... Read The Rest →
a day: number 177: LGBT in Cannes

Global Review: Advertising ตอน เพศที่สามในคานส์ By Weerachon Weeraworawit, Published: 9 May 2015 สืบเนื่องจากข้อเขียนในฉบับที่แล้ว ว่าด้วยเรื่องรางวัลใหม่ในเทศกาล Cannes Lions International Festival of Creativity ที่กำลังจะมาถึงในกลางปีนี้ คือรางวัลสิงโตแห่งสิทธิสตรี Glass Lion ผู้อ่านหลายท่านทักมาว่า เอ๊ะ! เวทีคานส์ก้าวหน้าขนาดสนับสนุนผลงานโฆษณาที่ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันระหว่างเพศชายกับหญิงแล้ว แต่เพศสำคัญอีกเพศหนึ่งคือเกย์กับเลสเบี้ยนล่ะ ทางคานส์มีรางวัลพิเศษอะไรมามอบให้หรือเปล่า คำตอบคือยังไม่มีรางวัลพิเศษครับ แต่ทางคานส์เองก็ไม่ได้ละเลยผลงานดีๆ ที่คุยกับเพศที่สาม เห็นได้จากผลการตัดสินปีที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการตัดสินในหมวดสื่อโฆษณากลางแจ้งหรือ Outdoor Lions ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ โหวตให้ผลงานชื่อ GayTM ของธนาคาร ANZ ที่สร้างสรรค์โดยเอเจนซี่ Whybin\TBWA Group เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย เป็นผู้คว้ารางวัลสูงสุด Grand Prix ทั้งยังกวาดสิงโตในหมวดอื่นๆ กลับบ้านอีกรวมถึง 7 รางวัลเลยทีเดียว จุดเริ่มต้นของแคมเปญนี้ เกิดจากทางธนาคาร ANZ ได้ให้การสนับสนุนเทศกาลพาเหรดเกย์และเลสเบี้ยนประจำปีที่เมืองซิดนีย์ (Sydney Gay and Lesbian Mardi Gras) มานานหลายปี และเพิ่งตัดสินใจเลื่อนฐานะตนเองขึ้นมาเป็นสปอนเซอร์หลัก จึงอยากทำแคมเปญโฆษณาสนุกๆ ออกไปให้คนทั่วไปโดยเฉพาะชาวสีรุ้ง เกิดความรู้สึกที่ดีกับทางธนาคาร ผลที่ได้จึงกลายเป็นผลงาน CSR สะท้านโลก ทั้งที่แก่นแกนของแคมเปญนั้นแสนเล็ก คือการแปลงโฉมตู้เอทีเอ็มหน้าตาธรรมดาๆ ออกจะดูน่าเบื่อด้วยซ้ำไป ให้กลายเป็นฟู่ฟ่าน่าหยิก โดยตกแต่งด้วยขนเฟอร์ เพชรนิลจินดา ให้ทั้งตู้ดูระยิบระยับเตะตาในช่วงเทศกาลพาเหรดเกย์ พร้อมทั้งทำกราฟิกหน้าจอเน้นสีรุ้งให้สอดคล้องกับรูปโฉมใหม่ของตัวตู้ ปิดท้ายด้วยสลิปเอทีเอ็มที่แน่นอนว่าต้องพิมพ์ลวดลายสีรุ้ง และทางธนาคารยังมอบรายได้จากการทำธุรกรรมผ่านตู้ GayTM โดยลูกค้าขาจรทั้งหมดให้กับมูลนิธิ Twenty10 ที่รณรงค์เรื่องความเสมอภาคทางเพศในซิดนีย์ ส่วนสาเหตุหลักที่ทำให้แคมเปญแปลงโฉมตู้เอทีเอ็มนี้แพร่หลายกลายเป็นไวรัลไปทั่วโลก ต้องยกความดีความชอบให้กับสื่อโซเชียล ด้วยความที่ตู้เกย์ทีเอ็มถูกจัดวางอย่างถูกที่ถูกทางกลางเมืองในเทศกาลพาเหรดเกย์ มันจึงยั่วยวนชวนให้คนที่เดินผ่านไปมาเก็บอาการไว้ไม่ไหว ต่างพากันแชะถ่ายรูปกับตู้... Read The Rest →
a day: number 176: Cannes Glass Lions

Global Review: Advertising ตอน สิงโตแห่งสิทธิสตรี Cannes Glass Lion By Weerachon Weeraworawit, Published: 9 April 2015 ใกล้เข้ามาแล้วกับเทศกาล Cannes Lions International Festival of Creativity ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-27 มิถุนายน และต้องขอตบมือดังๆ ให้กับคณะผู้จัดงานในปีนี้ ที่ประกาศเพิ่มหมวด Glass Lion หรือ Lion for Change มอบสิงโตคานส์ให้กับผลงานโฆษณาที่ส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคทางเพศ แถมจะนำเงินค่าสมัครเข้าประกวดในหมวดนี้ทั้งหมด ยกให้องค์กรการกุศลที่สนับสนุนการขจัดอคติทางเพศ จุดเริ่มต้นของรางวัลนี้เกิดขึ้นปีที่แล้ว เมื่อทางคานส์ได้จับมือกับ Sheryl Sandberg เจ้าเม่เฟซบุ๊คและผู้ก่อตั้งมูลนิธิ LeanIn.org ปั้นแคมเปญ See It Be It ในเทศกาลคานส์ ด้วยแนวคิดที่ว่า คุณจะไม่สามารถเป็นในสิ่งที่คุณไม่ได้เห็น แคมเปญนี้จึงแนะนำผู้หญิงแถวหน้าให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นหญิงสาวรุ่นใหม่ได้เห็น เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในเพศแม่ เกิดแรงบันดาลใจที่จะไปให้ถึงฝั่งฝัน เมื่อแคมเปญได้รับผลตอบรับที่ดี คุณ Sheryl เธอจึงแนะนำคานส์ให้แจกรางวัลนี้แบบถาวร ต้องขอสารภาพครับว่าไม่แน่ใจถึงสาเหตุที่ใช้ชื่อ สิงโตแก้ว คงต้องขอให้ทีมงาน a day ที่ไปคานส์ปีนี้ลองซักถามความหมายจากคณะผู้จัดดู ส่วนตัวเดาว่าถ้าไม่เกี่ยวข้องกับรองเท้าแก้วของซินเดอเรลล่า ก็น่าจะมาจากสำนวนฝรั่ง The Glass Door อันหมายถึงประตูกระจกในออฟฟิศที่โปร่งใสจนเข้าใจว่าไม่มีอยู่ ต่อเมื่อผู้หญิงเดินชนโครมเข้าให้นั่นแหละ ถึงได้รู้ว่ากำแพงแก้วที่มองไม่เห็น หรือการกีดกันทางเพศในออฟฟิศ มีอยู่จริงให้เจ็บทั้งตัวเจ็บทั้งใจ จากที่คานส์เคยเสียท่าให้เวทีอื่นในการออกรางวัลส่งเสริมสังคม เช่น ปล่อยให้สถาบัน The One Club ของสหรัฐอเมริกา ตัดหน้าออก Green Pencil ก่อน Green Lion มอบรางวัลยกย่องผลงานโฆษณาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดีเด่น และปล่อยให้เวที D&AD... Read The Rest →
a day: number 175: Ad Trends in Fashion Week

Global Review: Advertising ตอน แฟชั่นงานโฆษณา ใน London Fashion Week By Weerachon Weeraworawit, Published: 9 March 2015 เป็นที่ทราบกันดีว่างานแฟชั่นโชว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นตัวกำหนดเทรนด์การแต่งตัวในแต่ละปี ประกอบไปด้วยเวทีที่ปารีส มิลาน นิวยอร์ค และลอนดอน ถ้าเทนนิสมีการแข่งขัน 4 รายการหลักใน 4 เมืองใหญ่ที่รวมเรียกว่า แกรนด์สแลม เทศกาลแฟชั่นโชว์ที่ทั้ง 4 เมืองใหญ่ข้างต้น ก็เป็นประหนึ่งแกรนด์สแลมของโลกแฟชั่น งาน Fashion Week ระดับแกรนด์สแลมนี้ จะจัดกันครั้งละประมาณหนึ่งสัปดาห์ โดยปีนี้เริ่มต้นที่ New York Fashion Week ก่อนเพื่อน แล้วค่อยตามมาด้วย London Fashion Week เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และที่เมืองลอนดอนนี้เอง นอกจากจะมีการอัพเดทเทรนด์เสื้อผ้าหน้าผมใหม่ๆ ให้แฟชั่นนิสต้ากับฮิบสเตอร์ได้ซี้ดซ้าดกันแล้ว งานโฆษณาของแบรนด์แฟชั่นที่นี่ ที่เกี่ยวข้องกับ Fashion Week ยังจัดได้ว่าล้ำหน้ากว่าใครในโลกหล้า โดยหัวหอกใหญ่ที่สร้างงานล้ำๆ มาสนอง Need ของกลุ่มเป้าหมายระดับผู้นำเทรนด์แฟชั่น ก็คือ Topshop แบรนด์สายเลือดอังกฤษที่เน้นผลิตเสื้อผ้าแบบแคทวอล์คในราคาที่คนทั่วไปเอื้อมถึง รวมทั้งออกแบบเสื้อผ้าคอลเลคชั่นพิเศษร่วมกับแฟชั่นดีไซเนอร์และเซเลบ งานโฆษณาของพวกเขาในเทศกาลนี้ที่ผ่านมา เน้นการทำโฆษณาบนช่องทางออนไลน์ร่วมกับ Social Media เจ้าใหญ่ๆ มาตลอด หลังจากที่ในปี 2012 พวกเขาจุดพลุผู้นำเทรนด์โฆษณายุคดิจิตอลด้วยการถ่ายทอดสดแฟชั่นโชว์ ที่ให้คนดูสามารถเลือกแบบเสื้อผ้าและช้อปปิ้งได้สดๆ ใน Facebook กับแคมเปญ Customize The Catwalk ต่อเนื่องตามมาด้วยการจับมือกับ Google+ ใช้ทุกฟังก์ชั่นของโซเชียลมีเดียเจ้านี้มาสร้างการมีส่วนร่วมกับคนดู ให้ได้สัมผัสบรรยากาศแฟชั่นโชว์ พูดคุยกับนางแบบ ติดตามเบื้องหลังแคทวอล์ค และช้อปเสื้อผ้าคอลเลคชั่นใหม่กันไปแบบเต็มอิ่ม มาปีนี้ Topshop... Read The Rest →
a day: number 174: Hijacking the Super Bowl

Global Review: Advertising ตอน ไฮแจ็ค Super Bowl By Weerachon Weeraworawit, Published: 9 February 2015 การแข่งขันอเมริกันฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศ หรือที่รู้จักกันดีในนาม Super Bowl นอกจากจะแข่งขันแบบเอาเป็นเอาตายทั้งตัวนักกีฬาและกองเชียร์แล้ว อีกหนึ่งการแข่งขันที่เข้มข้นไม่แพ้กันไม่ได้เกิดขึ้นบนสนามแข่ง หากแต่เกิดในโลกโฆษณา เนื่องจากกระแสการพูดถึง รวมถึงผลการวิจัยของ Nielsen ถึงประสิทธิผลของหนังโฆษณาในช่วง Super Bowl ทำให้เจ้าของสินค้าและบริการที่อเมริกาต่างเทเงินมาซื้อเวลาในช่วงถ่ายทอดสดกันอย่างบ้าคลั่ง ดันให้ราคาค่าออกอากาศหนังโฆษณา 30 วินาทีพุ่งไปที่ 4 ล้านดอลล่าร์ และยอดรวมของเงินค่าโฆษณาทะยานไปที่ 331.8 ล้านดอลล่าร์ แปลงเป็นค่าเงินไทยก็กว่าหมื่นล้านบาท นั่นจึงทำให้ช่วง Super Bowl กลายเป็นเมกะของคนโฆษณาที่นั่น และผู้โฆษณารายใหญ่ที่สุดในช่วงเวลานี้ อันดับหนึ่งคือ Anheuser-Busch InBev เจ้าของเบียร์ Budweiser และ Bud Light ในขณะที่ PepsiCo Inc. เจ้าของน้ำอัดลม Pepsi และชิพ Doritos ตามมาเป็นอันดับที่ 2 จึงสมเหตุสมผลด้วยประการทั้งปวงที่การไฮแจ็ค Super Bowl มาเป็นจุดดึงความสนใจของคนดูทางบ้านโดยไม่ต้องเสียเงินให้ผู้จัดการแข่งขัน Super Bowl แม้แต่เซนต์เดียว จะเกิดขึ้นโดยบริษัทเบียร์คู่แข่ง Anheuser-Busch InBev คือ Heineken ซึ่งปรับกลยุทธ์การโฆษณาเบียร์ Newcastle Brown Ale โดยมุ่งโฆษณาลักไก่เกาะกระแส Super Bowl สร้างสีสันให้วงการโฆษณาโลกมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เพราะ Anheuser-Busch InBev เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ชื่อ Super Bowl และสิทธิ์ขาดในการออกอากาศหนังโฆษณาในหมวดเบียร์แต่เพียงผู้เดียว ทำให้เบียร์เจ้าอื่นหมดโอกาสเสนอหน้าในช่วงเวลานี้ ปี 2014 ที่ผ่านมา Newcastle... Read The Rest →