Advertising Newspaper – Yunomori Onsen

บทสัมภาษณ์ “อาบน้ำแร่ แช่ออนเซน กับ Well Done Bangkok” Published in Advertising Newspaper issue#8: 25 February 2013 ในฉบับนี้ ADVERTISING เลือกงานนามบัตรมาพูดถึงสองงาน งานแรกเป็นนามบัตรของโรงละครอักษราที่เป็นงานละเอียดหรือจะเรียกง่ายๆ ว่าใช้ ‘ความเยอะ’ มาช่วยสื่อสารอัตลักษณ์ขององค์กรออกมาได้อย่างลงตัว แต่สำหรับนามบัตรของ Yunomori Onsen ชิ้นนี้ กลับใช้วิธีการที่อยู่ในขั้วตรงข้ามกัน คือ ใช้ ‘ความน้อย (แต่มาก)’ ที่น่าจะกลายเป็นแบบฉบับของ Well Done เจ้าของผลงานไปแล้วเหมือนกัน อย่างที่เห็นอยู่ในภาพ นามบัตรของออนเซนแห่งนี้เป็นการนำเอาภาพถ่ายบุคคล ระดับ head & shoulder ของผู้เป็นเจ้าของนามบัตรชิ้นนั้นๆ มาใช้เป็นแบ็กกราวนด์ (เจ้าของนามบัตรก็คือ เจ้าของ และพนักงาน) แต่มีการทำให้ภาพมัว เบลอ มองเห็นไม่ชัด เหมือนกับเวลาที่เข้าไปในออนเซนแล้วเห็นภาพมัวๆ ผ่านไอน้ำสีขาว แถมภาพ portrait ของเจ้าของนามบัตรที่ถูก crop แค่เพียงระดับไหปลาร้าก็ยังถูกลบเสื้อผ้าทิ้งไปให้เหมือนกับว่าไม่ได้ใส่เสื้อผ้า เพราะเวลาที่เข้าไปอยู่ในออนเซนจริงๆ ก็ไม่มีใครใส่เสื้อผ้า ซึ่งง่ายๆ สั้นๆ เพียงเท่านี้เอง อัตลักษณ์ของออนเซนที่เป็นบ่อน้ำร้อนมาจากญี่ปุ่นก็ได้ถูกสื่อออกมาอย่างเรียบง่ายทว่าชัดเจนที่สุดแล้ว “งานนี้ลูกค้าค่อนข้างเปิดกว้างมาก แค่ขอให้มีความเป็นญี่ปุ่นเท่านั้นเอง เพราะออนเซ็นแห่งนี้เป็นออนเซ็นที่ใช้วิธีการดั้งเดิมของออนเซ็นญี่ปุ่นแห่งแรกในเมืองไทย” ภคณัฐ ตันประยูร Head of Art จาก Well Done เล่าถึงที่มาที่ไปให้เราฟัง “ทีนี้พอโจทย์เปิดกว้างมามาก เราก็คิดไปเยอะมาก ไปไกลด้วย ไปถึงการหา identity ของน้ำ แล้วเอามาใช้ในดีไซน์ แต่มีวันหนึ่งผมได้ไปเห็นโปสเตอร์หนังญี่ปุ่นเรื่องหนึ่ง เขามีการทำภาพให้ออกเบลอๆ พอเห็นแล้วมันก็คลิก เชื่อมโยงกลับมาที่ออนเซ็น เพราะภาพเบลอๆ นั้นมันจะเกิดขึ้นในออนเซ็น ก็เลยกลายเป็นแรงบันดาลใจ สปาร์คไอเดียขึ้นมา ก็กลับไปบอกลูกค้าว่าขอเปลี่ยน... Read The Rest →
BEYOND PRINT: 8th Article: Irregular Card

คิดนอกกระดาษ ตอน Irregular Card By Nonthaporn Ketmanee, Published: 25 February 2013 ปีเก่าผ่านไปปีใหม่แทรกแซงเข้ามาอย่างรวดเร็ว และสิ่งที่คอยย้ำเตือนอยู่ทุกปีว่า ปีใหม่มาแล้วนะ ก็คือ การ์ดอวยพรปีใหม่ ที่จะได้รับจัดส่งมาเรียงรายพร้อมข้อความตรึงใจ ขอให้… ต่างๆ นาๆ ย่างเข้ายุคแห่งความก้าวไกลทางเทคโนโลยีที่คืบคลานเข้ามาพร้อมความเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับ การ์ดที่ได้รับในแต่ละปี มันเปลี่ยนเวอร์ชั่น รูปร่าง รูปทรง การเปิดตัวทักทายกับเราไปได้หลายแบบทีเดียว จากแบบแรกๆ ที่เราจะได้ยินคำว่า “มีจดหมายมาส่งครับ” พ่วงมาด้วยจากหนุ่มน้อยบุรุษไปรษณีย์ ขณะที่เรายืนรับจดหมายและโปสการ์ดอย่างตื่นเต้น พอกวาดตาไปเห็นซองสีเขียวเข้ม สแตมป์ยูเอส น้ำหนักไม่ถึงร้อยกรัม รอยยิ้มตัวเองยิ่งเปิดกว้าง รีบเปิดซองทันทีพบการ์ดปีใหม่ ป๊อปอัพซะด้วย โฮะๆ ๆ ๆ ลายมือเพื่อนสาวชาวต่างชาติบรรจงเขียนคำอวยพรทั้งอังกฤษและไทย ไม่รู้ไปหัดมาจากไหน แหม่! ช่างน่าประทับใจจริง เดินกลับมาที่โต๊ะทำงานสักพัก ได้ยินเสียงเอฟเฟคท์ของแมคดัง “ตึ๊ง” บอกให้รู้ว่า You got mail. เห็นอีเมลล์จากป้าวัยรุ่นแอลเอสไตล์ส่ง E-card จากเวบไซด์ดัง เป็นกระรอก 3 ตัว มาร้องเพลงให้ฟัง พร้อมคำอวยพรในตอนท้าย หลังจากชื่นชมมหรสพออนไลน์ได้ไม่นาน WhatsApp ในมือถือก็ดังขึ้น พร้อมแสดงข้อความว่า Thanya sent you a photo สไลด์หน้าจอดูปุ๊บก็ได้เห็นรูปหลานใส่แว่นดำ ยืนกอดอกทำท่าเท่ๆ และคำอวยพรจากครอบครัวนี้ ซึ่งทุกปีจะส่งมาทางไปรษณีย์ ปีนี้มาแบบนี้ เร็วกว่าเยอะ ดูหลานๆ และยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ให้ข้อความอวยพรได้ไม่นาน ก็อยากจะส่งความสุขให้คนอื่นบ้าง คลิกคอมพ์เล่นๆ เข้าไปเจอกับ Microsite ที่ชื่อ Elf Yourself ของฝรั่งเค้า ที่ยังฮิตไม่เลิกแม้จะโด่งดังมาเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งเราสามารถอัพโหลดรูปถ่ายหน้าเพื่อนเข้าไปใส่กับตัว Elf โดยดึงภาพจากไฟล์หรือทางเฟสบุ๊ค แล้วจัดหน้า... Read The Rest →
BEYOND PRINT: 7th Article: Secret Bar in New York

คิดนอกกระดาษ ตอน Secret Bar in New York By Nonthaporn Ketmanee, Published: 25 December 2012 เนื่องจากฉบับนี้ว่ากันด้วยเรื่องเฮฮาปาร์ตี้ เราในฐานะผู้รับผิดชอบคอลัมน์คิดและเขียนนอกกระดาษฉบับนี้ จึงขออนุญาตนำเสนอประสบการณ์ตอนที่ไปทำงานอยู่เมืองนิวยอร์กมาเล่าสู่กันฟังว่า นักออกแบบและครีเอทีฟอย่างเราๆ เวลาเลิกงาน จะไปหาเหตุปาร์ตี้ไปด้วยมองหาไอเดียไปด้วยที่ไหนกัน เผื่อจะเป็นประโยชน์กับใครที่มีโอกาสได้ไปทำงานหรือเรียนต่อที่นั่น มหานครนิวยอร์กที่เรารับรู้กันนั้นเป็นศูนย์รวมแห่งความบันเทิงเริงรมย์รอบด้าน เป็นเมืองที่ผู้คน ล้วนมีตัวตนและความคิดแตกต่างกันไป แต่หลังจากที่มนุษย์ทำงานทั้งหลายแหล่แห่กันเลิกงาน เค้าจะไปหาที่นั่งดื่มชิลๆ ร้องเพลง เต้นแร้งเต้นกา ดูผู้หญิงผู้ชาย คล้ายๆ บ้านเรานี่แหละ แต่ไอเดียสถานที่ของพวกเค้านี่สิ ช่างน่าสนใจ เราในฐานะกราฟิกดีไซน์เนอร์ตอนนั้น ก็มีแหล่งแนวๆ คูลๆ ไว้เม้าท์มอยสาระและไร้สาระอยู่ไม่น้อย และฉบับนี้ขอเริ่มจากแหล่งดื่มแบบลึกลับไม่เหมือนชาวบ้านของชาว New Yorkers ก่อนเลยละกัน ฮูเร่ หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการงานมาทั้งวัน ก็จะเริ่มออกปฏิบัติการยามค่ำคืน ส่วนใหญ่จะเริ่มย่าน East Village บนถนน St. Mark Place แต่ร้านที่เราจะพาไปนี้หายากระดับนึง ไม่มีป้ายชื่อร้าน คุณต้องเดินบนถนนเส้นนี้ไปเรื่อยๆ และสังเกตร้านขายฮอทด็อกที่มีชื่อว่า Crif Dogs อยู่ทางซ้ายมือ พอคุณยืนอยู่หน้าร้านขายฮอทด็อกแล้ว หันซ้ายหันขวาก็จะไม่เห็นร้านเหล้าบาร์ใดๆ อยู่แถวนั้น คุณต้องเดินเข้าไปในร้านฮอทด็อก พอเดินเข้าไปแล้ว ก็จะเจอตู้เกมรายล้อมซ้ายขวา มีเคาน์เตอร์สั่งอาหารอยู่ตรงกลาง ขณะที่มองอยู่นั้นจะเหลือบไปเห็นตู้โทรศัพท์สีดำอยู่ซ้ายมือ เข้าไปเลยค่ะ เข้าไปเลย คุณเดินเข้าไปในตู้ ยกหูโทรศัพท์รุ่นที่ต้องหมุนตัวเลขขึ้น ในตู้จะเขียนเบอร์ที่คุณต้องหมุน พอหมุนเสร็จก็รอฟังเสียงในสาย เวลาต่อมาจะพบว่าว่างเปล่า เหมือนโทรศัพท์เสีย ระหว่างที่คุณงงงวยอยู่นั้น พรืดดดดด… กำแพงที่อยู่ด้านซ้ายมือ ที่ติดกับตู้โทรศัพท์นั้น ตรงที่คุณยืนอยู่นั่นแหละ มันถูกเปิดออกค่ะ… พร้อมกับเด็กเสิร์ฟถามว่า “How many peoples?” ตอนที่ไปครั้งแรกเราตอบอย่างตะลึงงันไปว่า “Just one, please” เพราะมองผ่าน ประตูเข้าไปมันมีบาร์เหล้าซ่อนอยู่หลังตู้โทรศัพท์นั้นซึ่งอยู่ในร้านฮอทด็อกอีกที... Read The Rest →
Advertising Newspaper – Interview

บทสัมภาษณ์ “คนคิดคำ วีรชน วีรวรวิทย์” Published in Advertising Newspaper issue#6 “Copywriting Issue”: 22 October 2012 คิดดูแล้วก็แปลก เพราะในขณะที่สังคมออนไลน์ในบ้านเราปัจจุบันเกลื่อนกลาดไปด้วย ‘คำคม’ ประเภทบาดลึกถึงก้นบึ้งหัวใจหรือที่อาจเรียกได้ว่า ‘โชว์หล่อ’ แต่ในแวดวงวรรณกรรมงานเขียนเองกลับดูซบเซาเงียบเชียบกว่าช่วงยุคไหนๆ ที่ผ่านมา ลองคิดดูก็ได้ว่านานเท่าไรแล้วที่เราไม่มีนักเขียนเก่งๆ ไม่มีงานเขียนชิ้นดีๆ แห่งยุคสมัยที่โดดเด่นออกมา (เรามีแต่การนำเอา ‘คำคม’ ของนักเขียนบางคนที่ผลิตงานออกมาได้เร็วยิ่งกว่าโฆษณามารวบรวมเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้สาวกที่กระหายคำคมเหล่านั้นได้กรี๊ดกร๊าด แต่เนื้อหาที่มีคุณค่าและกินใจนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) หรือแม้แต่ในวงการโฆษณาเอง ก็อปปี้ขั้นเทพที่เราเคยมีในอดีตก็ดูจะลดน้อยลงเรื่อยๆ หรือจะว่าไปโฆษณาส่วนมากในปัจจุบันก็แทบจะไม่มีก็อปปี้ให้เห็นกันเลยด้วยซ้ำ บางทีมันอาจจะเหมือนกับที่ วีรชน วีรวรวิทย์ เจ้าสำนักของ Well Done Bangkok ว่าไว้ว่า นี่เป็นยุคสมัยที่ระดับภูมิปัญญาของประเทศเราได้ลดลงไปมาก เราขาดแคลนคนเก่งๆ ในสาขาต่างๆ หนำซ้ำความที่เป็นประเทศโลกที่สามที่รัฐบาลไม่ว่าจะยุคสมัยไหนๆ ก็ไม่เคยสนับสนุนเรื่องการอ่านออกเขียนได้อย่างยั่งยืน ก็ยิ่งทำให้ปัญหาที่ว่าดูมืดมนเข้าไปอีก นอกเหนือไปจากนั้น คนไทยยังรับวัฒนธรรม ‘ด่วนแดก’ (Fast Food) ของตะวันตกเข้ามาอย่างไม่ได้ย่อยแม้แต่นิดเดียว ซึ่งมันก็ทำให้ผู้ชมคนไทยส่วนมากชื่นชอบการดูภาพมากกว่าจะยอมเสียเวลาอ่านข้อความแม้เพียงสั้นๆ และเมื่อผู้ชมขาดในสิ่งที่วีรชนเรียกว่า ‘ความละเมียดละไม’ ในการรับชมผลงาน โฆษณาต่างๆ ก็จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อสื่อสารสิ่งที่ต้องการบอกให้เร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด “นั่นเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่น่าจะพออธิบายได้ว่าทำไมช่วงหลัง ก็อปปี้ในงานโฆษณาถึงน้อยลงเรื่อยๆ แต่อีกส่วนหนึ่งก็คงเพราะว่าจากที่ประเทศเราไม่เคยได้รางวัล Gold จาก Cannes Lions มาก่อน อยู่มาวันดีคืนดีเราก็ได้ Gold ชิ้นแรกจากงานพี่จูดี้ (จุรีพร ไทยดำรงค์) ซึ่งงานชิ้นนั้นที่ได้รางวัลก็เป็นงานที่ไม่มีคำพูดเลย มันก็เลยเหมือนเป็นค่านิยมว่า ถ้าอยากได้รางวัลระดับโลก ทำงานที่เป็นภาพเถอะ เพราะภาพเป็นภาษาสากล ภาษาไทยเวลาแปลเป็นภาษาอังกฤษมันไม่ได้จิตวิญญาณของเขา” วีรชนเสริม “อ้อ… แต่เรื่องยุคสมัยที่เราขาดแคลนคนเก่งนี่ รวมถึงลูกค้าเก่งๆ ด้วยนะ เพราะลูกค้าเก่งๆ จะก่อให้เกิดงานโฆษณาที่ดีตามมา” ก่อนที่จะให้ผู้ชายคนนี้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับเรื่องก็อปปี้และโฆษณา รวมไปถึงวิพากษ์วิจารณ์สังคมที่เกี่ยวข้องต่อไปอีกเล็กน้อย คงต้องขออนุญาตแนะนำตัวเขาสักนิด โดยเฉพาะสำหรับใครหลายคนที่อาจเริ่มสงสัยว่าทำไมเราถึงเลือกเขาให้มานั่งคุยกับเราในฉบับพิเศษ Copy Write... Read The Rest →
Advertising Newspaper – Copywriters

Suwit Ekudompong คนเขียนคำโฆษณา Well Done Bangkok (2nd from left) Published in Advertising Newspaper issue#6 “Copywriting Issue”: 22 October 2012