Bangkok Biz News – Adman Direction

“Suggestion from Thai top marketers & advertising executives in Adman Awards & Symposium 2014 Press Conference” Published in Bangkok Biz Newspaper 7 August 2014
a day: number 167: Future Lions

Global Review: Advertising ตอน Future Lions สิงโตน้อยนักศึกษา By Weerachon Weeraworawit, Published: 9 July 2014 พอเทศกาล Cannes International Festival of Creativity มาถึงแต่ละที เรามักให้ความสนใจกับการติดตามผลงานโฆษณาของครีเอทีฟไทยว่าเอเจนซี่ไหนจะได้รางวัลอะไร โปรดักเฮาส์ไหนจะสร้างชื่อให้กับวงการโฆษณาไทยในเวทีระดับโลกนี้บ้าง แต่จะว่าไปแล้ว เทศกาลคานส์มีอะไรดีๆ ให้ติดตามดูมากกว่าที่คิด นอกจากการมอบรางวัลสิงโตสีต่างๆ ให้กับครีเอทีฟมือโปรแล้ว คานส์ยังมีการจัดเวิร์คชอป Young Lions โดยให้ตัวแทนคานส์ในแต่ละประเทศคัดสรรครีเอทีฟรุ่นใหม่อายุไม่เกิน 28 ปี ส่งมาเข้าร่วมแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานกันในช่วงเทศกาล หมวดหมู่ของการแข่งขันก็มีหลากหลายไม่แพ้รุ่นใหญ่ ครอบคลุม Print, PR, Media, Cyber, Design, Film ไปจนถึง Young Marketers นู่นเลย และในปีนี้ตัวแทนครีเอทีฟรุ่นใหม่ของไทย 2 คน ก็ได้รับเลือกโดยสมาคมผู้กำกับศิลป์บางกอกให้บินไปร่วมแข่งขันในหมวด Young Film Lions ด้วยเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้น เวทีคานส์ยังมีการจัดการแข่งขันในระดับนิสิตนักศึกษา แต่ไม่ได้จัดโดยคานส์ หากแต่มีดิจิตอลเอเจนซี่ชั้นนำของโลก AKQA เป็นเจ้าภาพ โดย AKQA ถือได้ว่าเป็นดิจิตอลเอเจนซี่มากฝีมือ ผลิตงานออนไลน์ชั้นยอดกวาดรางวัลคานส์มามากมาย โดยการแข่งขันระดับนักศึกษาที่คานส์นี้ AKQA ตั้งชื่อไว้โก้เก๋ว่า Future Lions และได้ดำเนินการแข่งขันมาถึงปีที่ 9 จากเดิมที่มีนักศึกษาส่งผลงานเข้าแข่งขันไม่กี่ราย ก็เพิ่มขึ้นเป็น 1,760 รายจาก 40 ประเทศในปีนี้ ที่น่าสนใจคือการตั้งโจทย์สำหรับ Future Lions ในแต่ละปีจะเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง คือกำหนดให้นักศึกษาจากทั่วโลกนำเสนอไอเดียที่ไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว แต่ทำให้เป็นจริงได้ในวันนี้ จากนั้นให้นำไอเดียนั้นมาสร้างสรรค์ผลงานโฆษณาให้กับแบรนด์ระดับโลก พร้อมทั้งส่งคลิปวิดีโอสั้นๆ อธิบายไอเดียดังกล่าวเข้ามาที่คานส์ ฟรี!... Read The Rest →
BEYOND PRINT: 16th Article: World Cup Unofficial Sponsors

คิดนอกกระดาษ ตอน ขอเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างไม่เป็นทางการ By Weerachon Weeraworawit, Published: 25 June 2014 เป็นเรื่องปกติในวงการโฆษณากันไปแล้ว เมื่อทัวร์นาเมนต์การแข่งขันกีฬาระดับโลกมาถึง แบรนด์ต่างๆ จำต้องสรรหาวิธีมาเรียกความสนใจจากผู้บริโภค วิธีง่ายที่สุดคือการจ่ายเงินให้กับผู้จัดการแข่งขันทัวร์นาเมนต์นั้นๆ ในฐานะ Official Sponsor หรือผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ ฟุตบอลโลกที่ประเทศบราซิลคราวนี้ก็เช่นกัน แต่ละแบรนด์ยอมจ่ายเงินเป็นร้อยเป็นพันล้าน เพื่อให้ได้ Media Exposure ทั้งก่อนหน้า ระหว่าง และหลังการแข่งขัน ขาประจำที่เราคุ้นหูค้นตากันดีก็มียักษ์ใหญ่น้ำอัดลม Coke และชุดกีฬา Adidas โดยในปีนี้ โค้กออกแคมเปญ The World’s Cup เปิดตัวหนังโฆษณาทั่วโลกไปแล้วด้วยเรื่อง One World, One Game ซึ่งเน้นเนื้อหาของคนตัวเล็กๆ ในสถานที่ที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากความฝันเรื่องบอลโลก เช่น ชุมชนในป่าอะเมซอน กลุ่มหญิงสาวในเมืองเล็กๆ ของปาเลสไตน์ และกลุ่มวัยรุ่นในเมืองเล็กๆ ของญี่ปุ่นที่ยังคงร่องรอยความเสียหายจากสึนามิ แล้วโค้กก็ทำเซอร์ไพร์สส่งฑูตลูกหนังไปเชิญมาร่วมชมการแข่งขันฟุตบอลโลก รวมทั้งทำแคมเปญออนไลน์ เชิญคนดูทางบ้านให้ส่งภาพและเรื่องราวเข้ามาร่วมสนุก ลุ้นโอกาสได้รับเชิญไปร่วมฟุตบอลโลก ตามติดมาด้วยสารคดีออนไลน์ว่าด้วยเรื่องราวของคนที่รักและหลงใหลในฟุตบอลถึงขนาดไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนแบบนี้อยู่ในโลก เช่น นักฟุตบอลอาร์เจนติน่าผู้พิการทั้งสองแขน ผู้เป็นตำนานจากการวิ่งลงไปในสนามฉลองกับผู้เล่นอาร์เจนติน่าในวันที่ได้แชมป์ฟุตบอลโลกเมื่อปี 1978 นักฟุตบอลตาบอดชาวบราซิลซึ่งปัจจุบันเล่นอยู่ในทีมชาติพาราลิมปิก รวมไปถึงทีมฟุตบอลรุ่นคุณย่าที่ไม่น่าเชื่อว่าด้วยวัยสูงขนาดนี้จะยังมีเรี่ยวแรงมาเตะบอลกันได้เป็นเรื่องเป็นราว โค้กยังทำเพลงและมิวสิควิดีโอประจำฟุตบอลโลกหนนี้เป็นของตนเองด้วยนะครับในชื่อ The World is Ours โดย David Correy รวมทั้งออกโค้กรุ่นพิเศษ Mini Bottle ที่มีลวดลายประจำชาติของ 32 ทีมที่เข้ารอบสุดท้ายให้แฟนๆ ได้สะสม แต่ใช่ว่าโค้กใช้เงินครึกโครมทั้งค่าลิขสิทธิ์ที่ต้องจ่ายให้ฟีฟ่า และค่าผลิตแคมเปญฟุตบอลโลกข้างต้นนี้แล้ว โค้กจะเป่าปากสบายใจได้นะครับ เพราะในขณะที่โค้กเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ คู่แข่งตัวเอ้อย่าง Pepsi ก็ไม่ยอมอยู่เฉย แถมล่าสุดออก Global Campaign ใหญ่โตที่สุดเท่าที่เป๊ปซี่เคยทำมา โดยไม่ต้องจ่ายเงินให้ฟีฟ่าซักกะบาท ภายใต้แคมเปญ Now Is... Read The Rest →
a day: number 166: Happy Viral

Global Review: Advertising ตอน Happy Viral เมื่อความสุขแพร่ระบาด By Weerachon Weeraworawit, Published: 9 June 2014 วันก่อน ระหว่างที่ผมซอกแซกอัพเดทงานโฆษณาโลก ก็ต้องมาสะดุดใจกับโปรเจ็คท์ Sound Session ของ Sprint ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของอเมริกา ที่นำเอา Pharrell Williams มาร้องเพลง Happy ใน Webster Hall นิวยอร์ค แล้วเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือในมือคนดูให้กลายเป็นลำโพงสำหรับเพลงที่ Pharrell ร้องเพื่อโชว์ศักยภาพความเร็วระบบเชื่อมต่อไร้สายของ Sprint ที่สะดุดใจเพราะจำได้ว่าเพลง Happy นี่ออกมานานแล้ว ทำไมยังเป็นเพลงพระเอกที่ Sprint เลือกมาใช้โปรโมตเทศกาลดนตรีสำคัญที่เพิ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เอ๊ะ! หรือว่าเพลงนี้ยังฮิตไม่เลิก ผมเลยลองคลิกเข้าไปดูในยูทูบ กะจะเช็คยอดไลค์มิวสิควิดีโอเพลงนี้ ที่ไหนได้ กลับต้องอึ้งกับหลากหลายคลิปที่แฟนเพลงทั่วโลกทำออกมาภายใต้ชื่อ “Pharrell Williams – Happy – We are from (ชื่อเมือง)” โดยแต่ละเมืองจะมีแฟนเพลงถ่ายทำคลิปผู้คนเดินเต้นรำเข้าหากล้อง แสดงออกถึงความสุขของผู้คนในเมืองนั้นประกอบเพลง Happy ตามแบบมิวสิควิดีโอตัวแม่ที่ Pharrell ปล่อยออกมาพร้อมกับซิงเกิ้ลเพลงนี้เมื่อปลายปีที่แล้ว แถมหลายๆ เมืองไม่ได้ถ่ายกันเล่นๆ นะครับ ถ่ายกันแบบเอาตายโดยโปรดักชั่นเฮาส์ชั้นนำด้วยซ้ำไป ฮิตทำคลิปจัดจนถึงขนาดมีผู้รวบรวมคลิปเพลงนี้ที่ทำโดยคนดูทางบ้านไว้ใน wearehappyfrom.com กันเลยทีเดียว ซึ่งนับถึงขนาดนี้มี 1,950 คลิปจาก 153 ประเทศทั่วโลก ซึ่งความดีความชอบของการเป็นกระแสไวรัลฮิต นอกจากคุณงามความดีของบทเพลงเองแล้ว คงต้องยกให้กับมิวสิควิดีโอตัวแม่ที่กล่าวถึงข้างต้นแหละครับ เพราะมีวิธีการนำเสนอที่แปลกแหวกแนว โดยเป็นมิวสิควิดีโอตัวแรกที่มีความยาว 24 ชั่วโมง ทำให้มิวสิควิดีโอเพลงนี้กลายร่างเป็นสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ชั้นดี ที่ทำให้ผู้คนแชร์กันบนโลกออนไลน์และมีประเด็นสดใหม่ให้นักข่าวอยากนำไปเขียนถึง ทั้งยังเป็น Template ชั้นดี ที่คนดูทางบ้านลอกเลียนได้ง่ายจนกลายเป็นคลิปทำตามที่ฮิตที่สุดประจำปีนี้ไม่แพ้กระแส Harlem Shake เมื่อต้นปี 2013... Read The Rest →
a day: number 165: The Brief The Brief The Brief

Global Review: Advertising ตอน บรีฟนั้นสำคัญไฉน By Weerachon Weeraworawit, Published: 9 May 2014 เคยได้ยินคำกล่าวนี้ไหมครับ “ไม่มีคำตอบที่ดีมาจากคำถามที่แย่” นี่แหละครับ เรื่องเดียวกันกับ “บรีฟ” ในวงการโฆษณา และเป็นเรื่องเดียวกันกับที่เล่าขานว่า ครีเอทีฟเก่งๆ มักชอบล้มบรีฟงานโฆษณาที่เออีหรือแพลนเนอร์เขียน หรือพอไปเจอผู้กำกับหนังโฆษณาที่เก่งกว่า ผู้กำกับฯ ก็มักจะล้มสตอรี่บอร์ดที่ทางทีมครีเอทีฟคิดมา ทั้งที่เอเจนซี่โฆษณาต้องเพียรพยายามหลายรอบกว่าจะขายงานลูกค้าผ่าน จนได้มาบรีฟสตอรี่บอร์ดกับทางผู้กำกับฯ ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่วงการโฆษณาเมืองไทยผงาดบนเวทีโลกมาถึงทุกวันนี้ได้ ส่วนหนึ่งก็เพราะเรายึดถือกันว่า ไม่มีงานครีเอทีฟที่ดี ออกมาจากบรีฟที่แย่ คำถามที่ดีในเชิงการตลาดและการสื่อสารจะถูกรวบยอดบรรจุไว้ในบรีฟที่ดี เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมตรงคำถาม และถ้าครีเอทีฟรวมไปถึงผู้ได้รับมอบหมายงานต่อจากครีเอทีฟได้อ่านบรีฟแย่ๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เค้าอยากจะแก้ไข เพราะรู้ดีว่า ถ้าขืนทำตามบรีฟที่ให้มา ก็ไม่มีทางได้ผลงานที่ดี แล้วทำอย่างไร เราจึงจะเขียนบรีฟที่ดี ให้คนที่ต้องทำงานต่อจากเราทำงานง่าย สามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้ “ตรงโจทย์” คำตอบคือ บรีฟที่ดีนั้นต้องเขียนโดยคนที่มีประสบการณ์ ยิ่งไปกว่านั้น คนเขียนต้องมี Vision เพราะ “บรีฟ” ในวงการนี้มีแค่ 2 แบบ แบบแรกจะเป็นแบบ Limit ปิดกั้นจินตนาการ ถูกออกแบบมาให้ทำตามสั่ง ทำผลงานโฆษณาให้ออกมาตรงตามที่เขียนกำหนดไว้ในบรีฟเป็นใช้ได้ กับ “บรีฟ” แบบที่สอง คือบรีฟที่สร้างแรงบันดาลใจ เขียนแบบมี Inspiration กระตุกต่อมคนทำงานสร้างสรรค์ให้สามารถต่อยอดความคิดไปสู่สิ่งที่ดีกว่าได้แทบจะทันที เมื่อเร็วๆ นี้ ทางออฟฟิศเวลล์ดัน ได้มีโอกาสทำงานสร้างแบรนด์ให้กับมูลนิธิรามาธิบดีฯ เพื่อระดมเงินบริจาคมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ทางทีมงานเสนอลูกค้าให้ทำเพลงและมิวสิควิดีโอเน้นเนื้อหาตามสโลแกน “คำว่าให้…ไม่สิ้นสุด” เพื่อให้นำไปใช้งานได้นานๆ ซึ่งลูกค้าเห็นชอบ จากนั้นก็ได้พี่แอ๊ด คาราบาว กรุณามาช่วยประพันธ์เนื้อร้องและทำนอง ได้คุณปาน ธนพร มาช่วยขับร้อง เกิดผลงานเพลงและมิวสิควิดีโอ “การให้…ไม่สิ้นสุด” ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปลายเดือนเมษายน ซึ่งแน่นอนว่าก่อนหน้าที่จะเกิดบทเพลงนี้ขึ้นมา ก็ต้องเกิดการบรีฟแนวทางเพลงกับผู้ประพันธ์เพลงเสียก่อน และเนื้อหาข้างล่างต่อไปนี้คือบรีฟยาวๆ จากทางเราถึงทางพี่แอ๊ด… ทำไม “การให้…ไม่สิ้นสุด” ก็เพราะ… ตราบแผ่นดินไม่สิ้นคนทุกข์ยาก... Read The Rest →