a day: number 161: Risky Advertisement

Global Review: Advertising ตอน หนังโฆษณาท้ามฤตยู By Weerachon Weeraworawit, Published: 20 January 2014 ปรากฎการณ์มวลมหาประชาชนปิดล้อมสถานีโทรทัศน์เพื่อกดดันให้นำเสนอข่าวสารการชุมนุมประท้วงอย่างรอบด้าน เป็นตัวบ่งชี้ชั้นดีถึงความสำคัญของฟรีทีวีในบ้านเรา เพราะขณะที่คนเมืองสามารถเข้าถึงข่าวสารการชุมนุมผ่านช่องทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คได้อย่างกว้างขวาง แต่ต้องยอมรับว่าผู้คนที่อยู่นอกเมืองและชนบทยังคงต้องพึ่งพาสื่อฟรีทีวีเป็นหลักในการติดตาม และสิ่งนี้กำลังจะเปลี่ยนไปเมื่อบ้านเราเปิดให้บริการดิจิตอลทีวีเต็มรูปแบบ เพราะไม่เพียงแต่จะปลดแอกสื่อฟรีทีวีจากสัมปทานรัฐในการออกอากาศ หากยังเปิดประตูสู่ทางเลือกใหม่ๆ ในการรับชม และนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่วงการโฆษณาโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากเดิมที่เราเคยมีฟรีทีวีเพียงไม่กี่ช่อง อีกไม่กี่เดือน จะมีฟรีทีวีเพิ่มขึ้นเป็นสิบช่อง การทุ่มเงินซื้อสื่อหนังโฆษณาลงฟรีทีวี แล้วคาดหวังว่าจะมีคนเห็นเป็นล้านๆ คนแบบในอดีต จึงถึงเวลาต้องทบทวน โดยเฉพาะแบรนด์เล็กๆ ที่ไม่สามารถทุ่มตลาดหว่านซื้อเวลาออกอากาศได้ทุกช่อง ซึ่งจากสภาพการณ์นี้เอง จึงคาดหวังในแง่ดีได้ว่า เร็วๆ นี้ เราน่าจะได้เห็นหนังโฆษณาที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นกว่าในปัจจุบัน ลูกค้าจะกล้าเดินออกนอกกรอบมาสร้างเนื้อหาสดใหม่กับครีเอทีฟโฆษณามากขึ้น เพื่อสร้างการพูดถึงและจดจำหนังโฆษณาเรื่องนั้นๆ ให้ได้แม้การเห็นเพียงครั้งเดียว สิ่งนี้เองเป็นสิ่งที่เอเจนซี่โฆษณาล้ำๆ ระดับโลกเล็งเห็น และกำลังทำให้เห็น เพราะเหตุการณ์แบบนี้ได้เกิดขึ้นในชาติตะวันตกมาระยะหนึ่งแล้ว เมื่อคนดูมีช่องทางในการเลือกรับชมมากมาย จะทำอย่างไรให้หนังโฆษณาดึงดูดใจของพวกเขาได้ คำตอบคือต้องทำหนังโฆษณาให้น่าสนใจที่สุด แล้วไม่ว่าคุณจะฉายหนังเรื่องนั้นบนช่องทางไหน คนดูก็จะอยากตามไปดูเอง นี่คือหลักการสำคัญที่ทำให้เอเจนซี่อิสระขนาดเล็กอย่าง Forsman & Bodenfors แห่งสวีเดนสร้างปรากฎการณ์กับลูกค้า Volvo Trucks จนโด่งดังไปทั้งโลกอยู่ในเวลานี้ โดย Forsman & Bodensfors เอเจนซี่คลั่งงานที่ไม่มีใคร (รวมทั้งครีเอทีฟ) มาทำงานเกินเก้าโมงเช้าแห่งนี้ เลือกที่จะใช้ช่องทางออนไลน์ YouTube เป็นสถานีหลักในการนำเสนอหนังโฆษณาออกมาต่อกรกับรถบรรทุกเจ้าตลาด Mercedes Benz สถานี YouTube.com/VolvoTrucks เปิดขึ้นเมื่อสี่ปีก่อน แต่ผลงานที่เป็น Break Through เกิดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2012 The Ballerina Stunt คือคลิปเสี่ยงตายความยาว 3 นาทีครึ่งที่นำ Faith Dickey หญิงสาวนักไต่เส้นลวดเจ้าของสถิติโลก มาเดินไปบนเส้นลวดที่ขึงพาดระหว่างรถบรรทุก Volvo 2 คันที่กำลังแล่นด้วยความเร็วอยู่บนถนน เธอต้องก้าวข้ามจากรถบรรทุกคันแรกไปสู่รถบรรทุกอีกคันให้ทัน... Read The Rest →

a day: number 160: A Day for Batkid

Global Review: Advertising ตอน ขอหนึ่งวัน สานฝัน Batkid By Weerachon Weeraworawit, Published: 20 December 2013 เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เมืองไทยของเราเกิดปรากฎการณ์สำคัญที่ผู้คนพร้อมใจกันออกมารวมตัว ร่วมเป่านกหวีดแสดงการคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ตามจุดสำคัญต่างๆ ทั่วประเทศ ผ่านการนัดแนะทางสังคมออนไลน์ ที่อเมริกาก็เช่นกัน ในเดือนเดียวกันนี้ ผู้คนในเมืองซานฟรานซิสโกพากันหลั่งไหลออกมาเต็มท้องถนน แต่ด้วยเหตุผลที่ต่างออกไปจากบ้านเรา ขณะที่คนไทยรวมใจแสดงออกถึงการไม่ยอมรับการออกกฎหมายล้างผิดคนโกง แต่ที่นั่น พวกเขารวมตัวกันออกมาเปลี่ยนเมืองซานฟรานซิสโกให้กลายเป็นกอแธมซิตี้ เมืองแห่งคนบาปและอาชญากรรมที่มีแต่ในการ์ตูนคลาสสิคเรื่อง แบทแมน จากนั้นก็รอคอยกันอยู่เต็มสองฟากถนน คอยส่งเสียงเชียร์ให้กำลังใจแบทแมนที่กำลังจะออกมาปราบเหล่าร้ายผดุงคุณธรรม   และผู้สวมบท แบทแมน หรือจะเรียกให้ถูกต้องว่า แบทคิด ที่ชาวเมืองรอคอยก็คือเด็กน้อยวัย 5 ขวบ Miles Scott ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เรื่องราวเริ่มต้นจากการที่มูลนิธิ Make-A-Wish ซึ่งทำหน้าที่เติมฝันของเด็กที่ป่วยเป็นโรคร้ายทั่วโลกมากว่า 30 ปี ได้พบคำปรารถนาของ Miles Scott ที่ฝันอยากเป็นแบทแมนสักครั้งในชีวิต ทางมูลนิธิจึงทำการรณรงค์ทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ผ่านแฮชแท็ค #SFBatKid โดยจุดเริ่มต้นต้องการเกณฑ์อาสาสมัครให้ได้ประมาณ 200 คน ให้ออกมาร่วมสวมบทพลเมืองกอแธมซิตี้ในวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน วันที่เด็กน้อย Miles จะสวมหน้ากากเป็นแบทคิดออกมาลุยจับผู้ร้าย แต่ทำไปทำมากระแสความเห็นอกเห็นใจของผู้คนบนสังคมออนไลน์ ที่มีต่อความฝันของเด็กน้อยผู้นี้มีมากเกินคาดหมาย ทำให้มีคนนัดแนะและลงชื่อว่าจะออกมาให้กำลังใจแบทคิดในวันนั้นมากถึง 13,000 คน กลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ซึ่งทำให้ทางมูลนิธิสามารถขยายผลจนเชิญ ผู้ว่าฯ และ ผบ. ตำรวจ เมืองซานฟรานซิสโกมาร่วมแสดงได้ เลยเถิดไปจนถึงความสำเร็จในการทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ออกมาร่วมเล่นเป็นอีกหนึ่งตัวละครในวันนั้นโดยสวมบทเป็นตัวเอง ส่งข้อความผ่านวิดีโอ Vine ของ Twitter เชียร์แบทคิดให้ออกไปจับผู้ร้ายให้สำเร็จ เมื่อวันสานฝันมาถึง ทันทีที่แบทคิดตื่นนอนตอนเช้า ก็ได้รับข้อความจาก ผบ. ตำรวจ แจ้งเหตุอาชญากรรมใหญ่ที่ต้องการความช่วยเหลือโดยด่วน จากนั้นนักแสดงพี่เลี้ยงที่สวมบทเป็นแบทแมน... Read The Rest →

BEYOND PRINT: 13th Article: 3D Printing

คิดนอกกระดาษ ตอน Beyond Print ของจริง 3D Printing By Weerachon Weeraworawit, Published: 25 December 2013 หลังปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อกว่าศตวรรษที่ผ่านมา ความเปลี่ยนแปลงบนโลกนี้ก็เกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด มีทั้งด้านบวกด้านลบ ถ้าจะนับที่มีอิทธิพลต่อวงการโฆษณาเราโดยตรง ก็คือการถือกำเนิดของ Mass Production ซึ่งทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าจำนวนมาก ขายให้คนจำนวนมาก อันเป็นต้นกำเนิดของอาชีพการตลาด นักขาย และสายงานโฆษณาในเวลาถัดมา ทั้งยังเป็นจุดเริ่มในการถือกำเนิดของการปฏิวัติใหญ่ๆ ที่ตามมาอย่างการปฏิวัติเทคโนโลยี และการปฏิวัติย่อยๆ อื่นๆ อีกมากมาย ที่ใกล้วงการเราหน่อยก็อย่างเช่น การปฏิวัติสื่อ ซึ่งทำให้ความนิยมในวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ เป็นไปอย่างแพร่หลาย และที่เพิ่งเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเราไปไม่นานคือ การปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทำให้คนทั่วโลกสามารถติดต่อและสืบค้นข้อมูลกันได้ผ่านอินเทอร์เน็ต รวมถึงโซเชียลเน็ตเวิร์ค ที่กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วในชีวิตประจำวันคนเรา และการปฏิวัติล่าสุดที่กำลังเกิดขึ้นแบบสดๆ ร้อนๆ และอยากแนะนำให้คอยจับตาดู คือการถือกำเนิดของ 3D Printing จากเดิมที่ดำเนินการในลักษณะ B2B คือสั่งทำชิ้นส่วน 3D และขายให้กันในแบบองค์กรต่อองค์กร มาวันนี้ 3D Printing กำลังจะกลายเป็นสินค้า Mass Product มุ่งขาย Mass Consumer อย่างเต็มรูปแบบ เมื่อผู้ผลิตรายใหญ่บางรายสามารถกระชากต้นทุนการผลิตเครื่องพิมพ์และเครื่องสแกน 3D ให้ออกมาวางขายได้ในราคาที่สามัญชนอย่างเราๆ ท่านๆ เอื้อมถึง จากเดิมที่เครื่องละเป็นแสนเป็นล้าน เหลือเพียงเครื่องละ 50,000-60,000 บาท และโจทย์โฆษณา 3D Printer เครื่องแรกสู่สายตาสาธารณชนก็ได้รับการแจกจ่ายออกไปแล้ว โดยทาง MakerBot ผู้ผลิต 3D Printer รายใหญ่ของอเมริกา ได้มอบหมายให้เอเจนซี่อิสระมากฝีมือแห่งนิวยอร์ค Droga5 เป็นผู้คิดงานโฆษณา ใครอยากรู้หน้าตาตัวเครื่องและผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ออกมาจากเครื่อง 3D Printing ของ MakerBot... Read The Rest →

a day: number 159: Small People, Big Change

Global Review: Advertising ตอน คนเล็กคิดเทวดา By Weerachon Weeraworawit, Published: 30 November 2013 หลายเดือนก่อน มีพรรคพวกในเฟสบุ๊คส่งต่อข้อความมาให้ช่วยลงชื่อรณรงค์ในเว็บไซต์ Change.org โดยเป็นการล่ารายชื่อให้ยกเลิกสวนสัตว์ลอยฟ้า ซึ่งมีอยู่แห่งเดียวในไทย คือที่ห้างพาต้า เพื่อรวบรวมรายชื่อไปนำเสนอรัฐมนตรีรวมทั้งหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา ด้วยความที่มีใจรักสิงสาราสัตว์เป็นทุนเดิม ผมจึงลงชื่อตามอย่างว่าง่าย แถมกลไกในเว็บไซต์แห่งนี้ยังเอื้อให้เราบอกต่อแคมเปญนี้ถึงเพื่อนๆ ผ่านช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย ผมก็เลยเสียเวลาเพิ่มอีกเล็กน้อยลองแชร์เรื่องราวที่คิดว่าเพื่อนๆ ควรรู้และควรเรียกร้องนี้ไปยังกลุ่มคนคอเดียวกันประมาณซักสิบคนเห็นจะได้ และจากผลตอบรับที่กลับมา แม้จะไม่มากมายแต่ก็ทำให้เห็นชัดเจนถึงพลังของโซเชียลมีเดีย ที่มาพร้อมกับเครื่องมือทางการสื่อสารใหม่ๆ ที่ภาษาการตลาดเรียกว่า Social Innovation จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคนตัวเล็กๆ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโลกรอบตัวให้ดีขึ้น ลุกขึ้นมารณรงค์เรียกร้องด้วยการชักชวนเพื่อนและเพื่อนของเพื่อนผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค จากจุดเล็กๆ เริ่มจากคนไม่กี่คน ก่อกำเนิดกระแสรณรงค์นับแสนนับล้านรายชื่อ แล้วส่งมอบต่อหัวหน้าหน่วยงานการเมืองและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการแก้ไข โดยอาศัยเครื่องมือในลักษณะสื่อออนไลน์ที่คนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก นี่แหละครับ คือแนวคิดของ นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคมอย่าง Change.org ซึ่งจริงๆ แล้วก็ยังมีอีกมากมายหลายเว็บไซต์ที่ดำเนินการในลักษณะนี้ เช่น 38 Degrees ที่อังกฤษ MoveOn ที่อเมริกา GetUp! ที่ออสเตรเลีย แต่ดูเหมือนว่า Change.org จะอยู่ใกล้ตัวคนไทยเราที่สุดเพราะมีองค์กรอยู่ในประเทศ และเพิ่งจัดงานฉลองครบรอบหนึ่งปีในไทยไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา Change.org เป็นเว็บไซต์ลักษณะ Petition Platform กล่าวคือเน้นหนักทางการรณรงค์ล่ารายชื่อ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2007 โดยอดีตนักศึกษาสแตนฟอร์ด Ben Rattray ในบ้านของเขาเองที่อเมริกา ขณะมีอายุเพียง 27 ปี แรงบันดาลใจในการมุ่งมาทาง Social Enterprise หรือการทำธุรกิจเพื่อสังคมของ Ben เกิดจากคอมเมนท์แรงๆ ของพี่ชายที่มีต่อการเปิดเผยตัวตนของเขาว่าเป็นเกย์สมัยเรียนมหาวิทยาลัย ทำให้รู้สึกถึงความจำเป็นในการสร้างเครื่องมือให้คนตัวเล็กๆ ในสังคมได้มารวมตัวกัน ร่วมส่งเสียงแสดงพลังทางความคิดเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติแย่ๆ ของผู้คนในสังคมที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากนั้นเครื่องมือนี้ก็ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมบนโลกใบนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยการสนับสนุนด้านเงินทุนจากองค์กร Amnesty... Read The Rest →

a day: number 158: Goodvertising

Global Review: Advertising ตอน โฆษณาชวนดี By Weerachon Weeraworawit, Published: 10 October 2013 ในระยะไม่กี่ปีมานี้  โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในหลายๆ ด้านทั้งบวกและลบ พลอยทำให้วิธีคิดในวงการโฆษณาโลกได้รับผลกระทบเข้าอย่างจัง ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และรวมๆ ก็ดูเหมือนจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดี เห็นได้จากผลงานดังๆ ในระยะหลัง ล้วนเป็นงานครีเอทีฟเพื่อโลกใบนี้ที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น เช่น Earth Hour, Tap Project หรือพลาสเตอร์ปิดแผลชิ้นดังของ Help Remedies ชุด Help I Want to Save a Life โดย Droga5 ที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์พิเศษ ให้ผู้ใช้สามารถแต้มตัวอย่างเลือดจากแผลที่เพิ่งได้รับสดๆ ร้อนๆ ใส่บรรจุภัณฑ์ส่งกลับมาที่แล็บ แจ้งเจตจำนงในการบริจาคเลือดให้ผู้ป่วยลูคิเมียได้จากบ้าน รวมไปถึงแบรนด์ใหญ่ๆ เกือบจะทุกแบรนด์ในโลกและในเมืองไทย ที่ต่างก็ลุกขึ้นมาทำงานส่งเสริมสังคมกันอย่างจริงจัง ถึงขนาดตั้งเป็นมูลนิธิก็มีให้เห็นกันอยู่มากมาย บางแบรนด์ก็ทยอยส่งสารที่เป็นบวกออกมาอย่างต่อเนื่อง อย่างล่าสุด Coke ที่ออก Share a Coke เป็นแคมเปญใหญ่ไปทั่วโลก และเห็นวางขายในเมืองไทยกันอยู่ตอนนี้ โดยสกรีนชื่อผู้รับลงไปบนกระป๋องน้ำอัดลมโดยตรง ทำให้พอเราเห็นเข้า ก็รู้สึกอยากเป็นผู้ให้ ขณะเดียวกัน พอดูชื่อตัวเองบนกระป๋อง ก็อดไม่ได้ที่จะยิ้มน้อยยิ้มใหญ่อยากเป็นผู้รับกับเค้าไปด้วย ลักษณะงานจิตดีเหล่านี้ พอเกิดการคิดและทดลองทำกันมากๆ เข้า ก็เริ่มส่งผลกระทบแรงๆ กับวงการโฆษณา ถึงขนาดเปลี่ยนความเชื่อเดิมๆ ที่ว่า ถ้าแบรนด์อยากจะคิดดีทำดี อย่าไปคิดถึงยอดขาย เพราะงานเพื่อสังคมกับงานสร้างยอดขายมันคนละเรื่องกัน กลายเป็นว่า งานเพื่อโลกกลับกลายเป็นงานที่สามารถผลักดันยอดขายให้เกิดขึ้นได้อย่างเปรี้ยงปร้างเป็นรูปธรรม ถ้ารู้จักหยิบยกความดีเหล่านี้มาใช้อย่างสร้างสรรค์ โดยตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดในเวลานี้ คงไม่มีใครเกินแผนงานสื่อสารของบริษัทฟาสต์ฟู้ดอาหารเม็กซิกันชื่อดังในอเมริกา Chipotle โดยบริษัทโฆษณาอิสระ CAA Marketing เจ้าของ 2 Cannes Grand Prix ในหมวด Film... Read The Rest →

« Older Entries Newer Entries »

Back to top